ไม่ว่าจะปูใหม่ หรือ ปูทับกระเบื้องเดิม ปูนกาวตราจระเข้ ป้องกันเชื้อราได้อย่างไร
คงไม่ดีแน่ หากวันหนึ่ง บ้านของเรา มีห้องน้ำ ห้องครัว หรือห้องใดๆ ก็ตาม ที่เจอคราบหนักกับการบุกของเชื้อราขนาดนี้ .. ยอมย้ายบ้านหนี ทุบบ้านทิ้ง! ดีกว่าที่จะต้องอยู่เป็นเนื้อคู่กับบ้านที่น่ากลัวแบบนี้ ถ้าต้องมาฆ่าเชื้อโรค ก็คงต้องจุดไฟเผากันเลยทีเดียว เหมือนน้ำยาอะไรก็จะเอาไม่อยู่! ทางที่ดีหากคุณมีบ้านเป็นของตัวเอง ควรทราบก่อนว่า ปูกระเบื้องด้วยปูนกาวแบบไหนป้องกันเชื้อราได้บ้าง
โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการปูกระเบื้อง จะต้องมีขั้นตอน “(1) พื้นที่ปรับระดับ” มาเรียบแล้ว และรองกระเบื้องด้วย “(2) ปูนกาวซีเมนต์” ตามด้วย “(3) กระเบื้อง” หลังจากนั้นก็ลง “(4) ปูนกาวยาแนว” เป็นตัวสุดท้าย ทั้งหมดนี้ มี ข้อ 1 กับ ข้อ 4 ที่ช่วยป้องกันเชื้อรา และ ความชื้นให้กับคุณได้
ตัวปูนกาวซีเมนต์เอง ใช้ยึดพื้นกระเบื้อง ไว้กับพื้นบ้าน หรือ ผนังของบ้านคุณ ซึ่งจำเป็นต้องเว้นช่อง ให้มีรูโพรง เพื่อป้องกันกระเบื้องแตก จากแรงดันและความร้อนซึ่งเป็นจุดอ่อนเมื่อมีน้ำขัง ความชื้นก็จะนำมาจุลินทรีย์มาขังเป็น คราบชื้นได้ และหลังจากที่อุดด้วยยาแนวเป็นชั้นที่ 4 จะปิดร่องเพื่อป้องกันเชื้อราได้อย่างไร? มาฟังคำอธิบายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกันครับ
เพื่อปิดโอกาสให้เชื้อราไม่ขึ้นจากรูโพรงใด ๆ ควรทาซีเมนต์กันซึม ก่อนลงปูนกาวซีเมนต์ ซึ่งในปูนกันซึมนี้มีส่วนผสมของ ไมโครแบน (Microban)อยู่ด้วย ตัวเทคโนโลยีนี้ จะปิดกั้นการเติบโตของจุลินทรีย์กับเนื้อปูนทุกชั้น และไม่สามารถซึมออกมาได้เมื่อปิดด้วยกาวยาวแนวแล้ว ซึ่งตัวกาวยาแนวเอง ก็มี “ไมโครแบน” อยู่ด้วย
ห้องแบบไหนที่ควรปูซีเมนต์กันซึม และ ปูนกาวยาแนวป้องกันเชื้อรา
พื้นที่สำหรับออกกำลังกาย ห้องน้ำ ห้องนอน ที่คุณต้องอยู่อาศัย ในห้องดังกล่าวเป็นพื้นที่ ที่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อรา เนื่องจาก “เชื้อรา” เป็นปัจจัยที่กระตุ้นอาการแพ้ ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคภูมิแพ้หรือเปล่า? แต่หากร่างกายอ่อนแอเมื่อไหร่ เชื้อรา และเชื้อโรคเหล่านี้ ก็จะถูกสูดเข้าไปทำร้ายร่างกายของคุณได้ทุกเมื่อ
โดยเฉพาะ ฟิตเนส หรือ ห้องออกกำลังกายใน Sport Club ที่เก็บซับกลิ่นเหงื่อของผู้มาออกกำลังกายอยู่เสมอ มาในรูปแบบกลิ่นอับ และจะยิ่งเหม็นมากขึ้น หากไม่ได้ทำพื้นที่รองรับป้องกันความชื้นจากเชื้อรา ซึ่งสั่งสมมาตลอดทั้งวัน จากเหล่าสมาชิกที่ผจญภัยกับสิ่งแวดล้อมมาหลากหลายประเภท และมากักเก็บอยู่ในห้องเดียวกันนี้
รวมถึงพื้นที่สระว่ายน้ำก็สามารถปูซีเมนต์กันซึม และ ปิดทับด้วยปูนกาวยาแนว ที่มีเทคโนโลยีไมโครแบนได้เช่นกัน เพื่อป้องกันคราบตะไคร่น้ำเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับผิวกระเบื้องของคุณ และยืดอายุการใช้งานของสระว่ายน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการลงทุนที่น้อยกว่าการรื้อทิ้ง ทำใหม่เสียอีก ดังนั้นมาป้องกันพื้นที่ภายในครอบครัวของคุณด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีไมโครแบนป้องกันเชื้อรากันดีกว่าครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
เชื้อราในห้องน้ำอันตรายไหม ?
เชื้อราในบ้านอันตราย! ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในบ้าน
วิธีป้องกันเชื้อราบนภายในบ้านที่ไม่ควรมองข้าม