สร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนด้วย ‘Landscape Architecture’

ภูมิสถาปัตยกรรม คือศาสตร์ว่าด้วยการ วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ และ จัดการ สิ่งที่อยู่รอบ ๆ อาคารและรวมถึงสภาพแวดล้อมทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น และในสภาพธรรมชาติ หรือที่หลายๆคนอาจจะได้ยินในนาม ‘Landscape Architecture’หริอ ‘ภูมิสถาปัตยกรรม’ ส่งผลต่อสิ่งต่างๆ หลายต่อหลายส่วน แต่ที่สำคัญที่สุดคือชุมชน และ คุณภาพชีวิต และองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้คือ การมีส่วนร่วม และ ความยั่งยืน
Landscape สำคัญอย่างไร
ทุกอย่างที่อยู่นอกอาคารก็เรียกว่า Landscape ทั้งหมด เพราะฉะนั้นก็จะครอบคลุมถึงระดับ Urban Scale มากขึ้น ซึ่งถ้าในประเทศอเมริกา เขาก็จะผลักดันแนวคิดของการทำ Landscape Organism เป็นการใช้ Landscape มาพัฒนาเมืองจึงทำให้เกิดโปรเจ็คต่างๆ เช่น The High Line ซึ่งนับได้ว่าเป็นโปรเจ็คต้นแบบที่ทำให้ทั่วโลกเกิดการตื่นตัวในเรื่องนี้

การที่สร้างโดยไม่ได้คำนึงถึง Landscape เป็นปัจจัยหลักอาจไม่ส่งผลดีนัก ทุกประเทศ โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ก็เคยพบปัญหามาก่อน อย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ ที่คลองชองกเยชอน ซึ่งก่อนหน้าที่จะพัฒนาคลองนี้ ตลอดเส้นของคลองก็จะมีแต่ถนน ทางยกระดับ ทางด่วนต่างๆ เพราะคำนึงถึงการเดินทางเป็นหลัก แต่ปัจจุบันพฤติกรรมการเดินทางเปลี่ยนไป คนเริ่มกลับมาใช้รถไฟฟ้าเป็นหลัก จึงได้มีการพัฒนาคลองให้กลายเป็นคลองที่มีภูมิทัศน์รอบๆที่ร่มรื่นและสวยงาม น้ำที่เคยเน่าเสียก็กลับมาในสะอาด กลายเป็นแหล่งเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางเมืองที่วุ่นวาย
ตอนนี้คนหันมาเห็นความสำคัญของLandscape ที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตพวกเขาให้ดีขึ้น จึงพูดได้ว่า Landscape ไม่ได้ช่วยแค่เมืองให้มีความสวยงาม หรือน่าอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้ชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในเมืองนั้นๆดีขึ้นด้วยเช่นกัน
แนวคิดจากต้นแบบของ Landscape จากสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เอง เขาก็เป็นแกนกลางของแบบอย่าง เขาคิด Landscapeตั้งแต่ Masterplanning กฎหมาย จนมาถึง Designer เขาคุมทุกระดับของความคิดให้ความเขียวเข้าไปแทรกซึมอยู่ทุกส่วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของพื้นที่เขียวในเมือง เพราะการเป็น Designer ถึงเราจะทำดีแค่ไหน ถ้าเรื่องพื้นที่สีเขียวไม่ถูกนำมากคิดตั้งแต่กระบวนการแรกมันจะไม่สามารถเปลี่ยนเมืองได้ทั้งเมือง เช่น HDB (Housing and Development Board) เปลี่ยนวิธีคิด เริ่มตั้งแต่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวบน Masterplanning แล้วตัวกฎหมายเองก็จะเอื้อในหลายๆอย่างเพื่อพื้นที่สีเขียว ซึ่งหลักการคิดง่ายๆคือ หากบริเวณนั้นต้องพัฒนา หรือ ก่อสร้าง แล้วมีต้นไม้อยู่ 100 ต้น เราสามารถตัด 100ต้นนี้ได้ แต่ก็ต้องปลูกกลับคืนเท่าที่เราตัดไปเช่นกัน
“ทั้งนี้คุณภาพในการสร้างพื้นสีเขียวก็สำคัญ ไม่เพียงแต่ปลูกต้นไม้ แต่ต้องคิดรวมไปถึงการกักเก็บน้ำ การนำน้ำในส่วนที่กักเก็บไว้มาใช้ใหม่ การป้องกันน้ำท่วม พื้นที่สีเขียวต้องช่วยในส่วนนี้ได้ด้วย”
Landscape ในประเทศไทยฉบับ Shma(ฉมา) เพื่อความยั่งยืน
เราเองก็ต้องพยายามมองภาพให้กว้างขึ้นเพื่อใช้ในProjectตัวเอง และมองถึงความสัมพันธ์กับเมือง อย่างเช่น TALA : Thailand Association of Landscape Architects ก็จะมีการจัดWorkshop เกี่ยวกับเรื่องเมืองกับพื้นที่สีเขียว เพื่อให้คนมองภาพได้ง่ายขึ้น ตระหนักเห็นความสำคัญและรักษาพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น

ในประเทศไทยก็มีการผลักดันในการเปลี่ยนกฎหมาย เพื่อให้เอื้อต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ส่วนกรุงเทพมหานครเองก็เริ่มมีการพัฒนาเพื่อให้เอื้อต่อพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เช่น การนำสายไฟฟ้าลงดิน ตอนนี้ถนนเส้นหลัก อย่าง สีลม สุขุมวิท พหลโยธิน สายไฟฟ้าถูกนำลงใต้ดิน จึงเป็นโอกาสในการเพิ่มต้นไ้ม้มากขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของไฟไหม้และไฟดูด จากการที่สายไฟพันกับต้นไม้ หากเราช่วยกันลดปัญหาเหล่านี้ได้ ทุกอย่างก็จะอยู่ร่วมกันได้ หรือแม้แต่ต้นไม้เดิมที่สภาพไม่ดี ก็สามารถตัดแล้วปลูกใหม่ หรือหลายพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ได้ดีอยู่แล้ว อย่างในเขตจตุจักร พื้นที่สีเขียวก็แข็งแรงขึ้นมากๆ นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
แนวคิด และ กระบวนการ โครงการ Green Bangkok 2030
นอกจากนี้เราก็ยังได้มีโอกาสเข้าไปช่วยทำโครงการ Green Bangkok 2030 ซึ่งทาง กรุงเทพมหานคร มีเป้าหมายสำคัญคือ หนึ่ง เพิ่มพื้นที่สีเขียวจาก ปัจจุบัน 6.9 ตร.ม.ต่อคน ให้เป็น 10 ตร.ม.ต่อคน และสอง เพิ่มอัตราการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวในระยะการเดิน 400 ม.จากปัจจุบัน 13% ให้เป็น 50% ด้วยกลยุทธ์การสร้าง Pocket Park หรือสวนขนาดกะทัดรัด เป็นการใช้พื้นที่ว่างๆ ตามมุมตึก ซอกซอย ไปจนถึงหลังคา ออกแบบเป็นพื้นที่ส่วนรวมให้คนเข้าดูและใช้งานขึ้นใหม่ ตัวสวนสีเขียวนี้ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง ทำให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันในพื้นที่ แถมช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้พื้นที่โดยรอบ


ก่อนหน้านี้ กรุงเทพมหานคร พยายามจะสร้างสวนสาธารณะ หรือ สวนเล็กๆ ตามพื้นที่ต่างๆ แต่กลับพบเจอปัญหาเรื่องการสร้างและการดูแล แต่เมื่อเกิดเป็นภาคี จึงเกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และ ความยั่งยืนตามมา เราเองก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการต่างๆของกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาและสร้างพื้นที่สีเขียวเช่นกัน กระบวนมีดังนี้ 1. ติดต่อผู้นำชุมชน เพื่อนำแผนงานไปเสนอ 2.ให้ชุมชนได้คุยกันเองภายใน 3.จัดกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อรับข้อเสนอแนะ แล้วนำไปปรับปรุง ซึ่งระหว่างกระบวนการสร้างก็จะมีกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนได้ส่วนร่วม อาทิ การเล่นดนตรีในวันเสาร์-อาทิตย์ ทั้งนี้ก็จะมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้ทำงานไปในแนวทางเดียวกัน เพราะมีเมื่อมีปัญหาก็จะสามารถหาทางออกร่วมกันได้ กระบวนการมีส่วนร่วมเหล่านี้จะทำให้คนในชุมชนมีความต้องการที่จะดูแลรักษา และ หวงแหนในสิ่งที่ตนร่วมทำ เกิดเป็นความยั่งยืนได้ในที่สุด

หนึ่งในความภาคภูมิใจ ลานกีฬาพัฒน์
ลานกีฬาพัฒน์ คงเป็นหนึ่งในโครงการที่เราประทับใจ เนื่องจากเป็นโครงการที่ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างและดูแล ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่สนองและสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่เอาพระราชหฤทัยใส่คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎร
โครงการนี้มีทั้งหมด 2 โครงการย่อย ได้แก่ ลานกีฬาพัฒน์1 อยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเคหะคลองจั่น เขตบางกะปิ และลานกีฬาพัฒน์2 อยู่ในบริเวณพื้นที่ใต้ทางพิเศษศรีรัช บริเวณแยกอุรุพงษ์ ราชเทวี เราเองก็ได้มีส่วนร่วมในการสร้างและการมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งสองบริเวณ ทำให้เกิดพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน

ลานกีฬาพัฒน์ จึงกลายเป็นสถานที่ที่จะช่วยเสริมสร้างพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงแก่ประชาชน รวมทั้งช่วยสานความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เข้มแข็ง และยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และที่สำคัญ คือ เป็นลานกีฬาที่คนในชุมชนจะได้เข้ามามีส่วนรวมในการ “สร้าง” และ “พัฒนา” เพื่อสืบสานให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัยอย่างแท้จริง
Landscape Architecture จึงไม่ใช่เพียงแต่การออกแบบอาคารสูงให้มีพื้นที่สีเขียว แต่เรายังต้องคำนึงถึงเมืองโดยรวม เพื่อให้เกิดการเพิ่มของพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนครับ
MR.PRAPAN NAPAWONGDEE
DIRECTOR of Shma Company Limited