
ภาพของผู้สูงอายุก่อนหน้านี้ คือการที่พวกเขาเหล่านั้นได้ไปพักผ่อนในบั้นปลายชีวิตตามสถานที่ธรรมชาติ อาทิ ภูเขา หรือ ทะเล แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปความคิดของพวกเขาก็เปลี่ยนแปลง พวกเขาเริ่มเข้าใกล้เมืองมากขึ้น(Urban Living) จนเกิดความคิดและพฤติกรรมที่เรียกง่ายๆว่า คนแก่ที่ไม่ยอมแก่ (Silver Age) แล้วสถาปนิกมีส่วนช่วยตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้อย่างไร คนกลุ่มนี้ต้องการอะไร แล้วจะออกแบบเพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มนี้อย่างไรบ้าง?
“หลักการของผมเวลาทำที่พักอาศัยให้ผู้สูงอายุ คือ ความสบายใจของเขาที่จะต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเพื่อน หรือ ญาติอยู่ด้วยกัน แล้วเขาจะจำหน้าและสนิทกับคนได้ไม่เกิน 10 คน ซึ่งเป็น Magic Numberแรก ให้เหมือนกับอยู่ในบ้านเล็กๆ 10 ห้องนอน พร้อมกับการแชร์ Facility และ 10 ครอบครัวนี้ก็จะมารวมกันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ทำให้เกิด Magic Numberที่ 2 คือ ไม่เกิน 200 คน ทำให้เกิดการรวมตัวกันของ Cluster”
สำหรับตัวโครงการนี้จะมีลักษณะแนวยาวลึกเข้าไปและด้วยโจทย์ของโครงการที่ต้องมีการจัดสรรพื้นที่สีเขียวให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งทาง ฌมา ภูมิสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบในส่วนของแลนด์สเคป ทำงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อผสานสถาปัตยกรรมและธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียว สถาปนิกออกแบบตัวอาคารให้เป็นเสมือนทิวเขาที่ล้อมรอบธรรมชาติ เต็มไปด้วยต้นไม้แบบสวนป่าธรรมชาติและลำธารที่ไหลทอดยาวไปตามแนวอาคาร
“ การทำโครงการนี้ผมไม่อยากให้เจาะจงไปที่ Senior Living หรือคำว่าผู้สูงอายุมากนัก สิ่งที่เป็นแก่นแท้คือพื้นที่ที่คนสามารถอยู่ได้อย่างสะดวกสบายตลอดชีวิตตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย และเราได้วางผังห้องให้ไม่บังวิวกัน อย่างเช่น แต่ละห้องเลือกเลี่ยงการประจันหน้ากัน ออกแบบผนังส่วนที่รับวิวสวนเป็นกระจกใสที่บิดเอียงองศาจากแกนหลักของอาคารเพื่อเปิดรับวิวที่กว้างขึ้นให้ทุกห้องมองเห็นวิวพื้นที่สีเขียว และแทนที่จะหันหน้าชนกันกับอาคารฝั่งตรงข้าม บานหน้าต่างได้ออกแบบให้เปิดได้ และบิดออกจากแกนเล็กน้อย(Slant Window)เพื่อรับลมและถ่ายเทอากาศ และเพื่อความปลอดภัยป้องกันการพลัดตกของผู้อยู่อาศัย หน้าต่างจะสามารถเปิดได้เพียง 15 องศาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์ที่สามารถขนเตียงคนไข้เข้าได้และโถงลิฟต์ที่สามารถป้องกันไฟไหม้ได้นาน 3 ชั่วโมง เพื่อรอการช่วยเหลือ และยังมีรายละเอียดอีกมากมายในการออกแบบที่เราคิดเพื่อผู้สูงวัยได้อยู่อย่างมีความสุข สะดวกสบายและปลอดภัย”
ทางเดินทั้งในและนอกอาคาร ถูกออกแบบให้ รถเข็น (Wheel Chair) สามารถหมุนตัวได้ สามารถจอด Wheel chair คุยกันได้ โดยไม่ขวางทางคนที่เดินผ่านไปมา ห้องพักมีลมผ่านและแสงเข้าถึง ระยะของการวางห้องแต่ละห้องจะไม่ติดกัน และมีพื้นที่และระยะห่างเพื่อให้เกิด Chance meeting
“Chance meeting หรือ โอกาสที่จะเจอกัน ที่มาจากหนังที่ชื่อว่า The Best Exotic Marigold Hotel ที่เป็นหนังชีวิตหลังวัยเกษียณ มีโอกาสพบปะผู้คน มีชีวิตใหม่ มีความรักใหม่ ที่ผู้สูงอายุอยากมีชีวิตที่กลับมาเป็นวัยรุ่น อยู่หอพักคล้ายตอนสมัยอยู่มหาวิทยาลัย เพราะไม่มีใครอยากอยู่ที่ไหนแล้วถูกลดสิทธิเสรีภาพ ไม่อยากอยู่ในที่ที่เขารู้สึกว่าเป็นภาระ ไม่อยากอยู่ในที่ที่เขารู้สึกว่าทำให้คนอื่นไม่สะดวก เขาอยากอยู่ในที่ที่เขาดูแลตัวเองได้”

พื้นที่ส่วนกลาง ออกแบบโดยเข้าใจผู้ใช้งาน โดย Club House ที่มีลักษณะปิด เนื่องจากการออกกำลังของผู้สูงอายุแบบบำบัด อาจจะไม่ได้อยากให้คนอื่นเห็นมาก เช่น ธาราบำบัด (Hydrotherapy) เป็นวิธีการใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการรักษา โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรองรับทุกส่วนของร่างกาย เมื่อร่างกายลงไปอยู่ในน้ำจะทำให้น้ำหนักตัวน้อยกว่าน้ำหนักขณะอยู่บนพื้นราบ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระและง่ายขึ้น และ Rehabitation เป็นลักษณะการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายผู้สูงอายุ และให้เป็นภาระต่อคนรอบข้างและสังคมให้น้อยที่สุด

โครงการดังกล่าว คือ โครงการ Jin Wellbeing Country อยู่บนทำเลติด ถนนพหลโยธิน-รังสิต ตั้งอยู่ภายในโครงการ Mixed-use ที่ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านไลฟ์สไตล์และบริการด้านสุขภาพครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อผู้สูงวัยรวมถึงคนที่มีไลฟ์สไตล์รักสุขภาพ ภายใต้แนวคิด “เมืองแนวคิดใหม่เพื่อวัยเกษียณ” ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติอันร่มรื่น และการออกแบบที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดการอยู่อาศัยนี้ Openbox Architects ได้ทำงานร่วมกับสถาปนิกจากออสเตรเลียมาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีความเชี่ยวทางด้าน Senior Living เข้ามาให้องค์ความรู้ จนเกิด Masterplan โดยยึดให้มีพื้นที่สีเขียวมีจำนวนเกิน 50% โดยโครงการนี้มี Masterplan แบบเป็นกลุ่มก้อน หรือ Cluster ตามวัฒนธรรม วิถีชีวิต และ ภูมิอากาศของประเทศไทย
พื้นที่โครงการมีทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ส่วนที่1 คือ Active Living เป็นส่วนที่พักอาศัย ส่วนที่2 คือ Rehabilitation Hospital & Aged Care เป็นโรงพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและอาคารสำหรับดูแลผู้สูงวัยเป็นพิเศษ ส่วนที่3 คือ Clubhouse & Wellness Center เป็นพื้นที่ให้มาทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้สูงวัยและครอบครัว

“งานนี้นับได้ว่าเป็นความภูมิใจของผมในฐานะคนไทย ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดโครงการนี้ ซึ่งออกแบบโดยมีสถาปนิกเป็นคนไทย วิศวกรไทย และเป็นโครงการแรกที่มีพื้นที่ใช้งานมากที่สุดในประเทศไทยเพื่อ เป็น Senior Livingที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมีความรู้ใหม่ที่เรานำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของคนไทยและภูมิอากาศของประเทศไทย”
คุณหนุ่ยเสริมว่า “สิ่งสำคัญที่สุดอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า Senior Living ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่นี่คือ การพัฒนาเพื่อชีวิต (Development for Life) เพราะทุกคนมีสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ไม่มีใครอยากเป็นภาระให้ใคร ทุกคนอยากดูแลช่วยเหลือตัวเองได้อย่างมีความสุข และภูมิใจที่ได้มีชีวิตอยู่ในสังคมและพื้นที่ที่น่าอยู่
โดย คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์(หนุ่ย) ผู้ก่อตั้ง OPNBX
#opnbx15th #openboxarchitects

พื้นที่โครงการมีทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ส่วนที่1 คือ Active Living เป็นส่วนที่พักอาศัย ส่วนที่2 คือ Rehabilitation Hospital & Aged Care เป็นโรงพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและอาคารสำหรับดูแลผู้สูงวัยเป็นพิเศษ ส่วนที่3 คือ Clubhouse & Wellness Center เป็นพื้นที่ให้มาทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้สูงวัยและครอบครัว

“งานนี้นับได้ว่าเป็นความภูมิใจของผมในฐานะคนไทย ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดโครงการนี้ ซึ่งออกแบบโดยมีสถาปนิกเป็นคนไทย วิศวกรไทย และเป็นโครงการแรกที่มีพื้นที่ใช้งานมากที่สุดในประเทศไทยเพื่อ เป็น Senior Livingที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมีความรู้ใหม่ที่เรานำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของคนไทยและภูมิอากาศของประเทศไทย”
คุณหนุ่ยเสริมว่า “สิ่งสำคัญที่สุดอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า Senior Living ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่นี่คือ การพัฒนาเพื่อชีวิต (Development for Life) เพราะทุกคนมีสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ไม่มีใครอยากเป็นภาระให้ใคร ทุกคนอยากดูแลช่วยเหลือตัวเองได้อย่างมีความสุข และภูมิใจที่ได้มีชีวิตอยู่ในสังคมและพื้นที่ที่น่าอยู่
โดย คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์(หนุ่ย) ผู้ก่อตั้ง OPNBX
#opnbx15th #openboxarchitects
