
“ในอดีต เมื่อคนย้ายมาอาศัยในเมืองเพิ่มมากขึ้น เกิดโรคระบาด ปัญหาสุขภาพ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการวางแผนพัฒนาผังเมือง เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด”
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ถนนเพียง 7% ของพื้นที่ทั้งหมด (รวมถนนเส้นเลือดฝอยตามตรอก ซอก ซอย) ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมหานครอื่น ๆ หรือเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก ที่กล่าวถึงถนนเป็นหลัก เนื่องจาก ถนนคือตัวนำทุกอย่าง ถนนนำความช่วยเหลือเข้าไป นำสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าไป นอกจากนี้ถนนยังเป็นตัวลดความแออัดอีกด้วย ยิ่งเรามีถนนมากเท่าไหร่ ระยะห่างระหว่างอาคารก็จะยิ่งถูกแบ่งมากขึ้น ระบบท่อประปา ขนส่งมวลชนเข้าไปใกล้ตัวเราได้มากขึ้น
การวางผังเมืองที่ดีจะต้องไม่ไปขัดแย้ง และสามารถส่งเสริมการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้
- สุขอนามัยชุมชน หรือ Public Health คือการวางผังเมืองสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การกำหนดระยะห่างระหว่างอาคาร ช่วยทำให้แสงแดดส่องถึง มีการไหลเวียนระบายอากาศ รวมถึงการแยกกิจกรรมอันตรายออกจากที่อยู่อาศัย
- ความปลอดภัยสาธารณะ หรือ Public Safety เช่น กำหนดขนาดของถนนที่เพียงพอกับปริมาณจราจร ความสะดวกของรถดับเพลิงและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ดับเพลิง การเคลื่อนตัวของรถพยาบาลและผู้บาดเจ็บเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
- สวัสดิภาพทางสังคม หรือ Public Welfare เป็นความราบรื่นของการอยู่ร่วมกัน เช่น จัดให้มีสวนสาธารณะเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ การกำหนดที่โล่ง การควบคุมรูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม การรักษาภูมิประเทศที่งดงาม เพื่อทัศนียภาพของเมือง ความเป็นระเบียบจากอาคารสิ่งก่อสร้างบนการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท โครงข่ายการคมนาคมที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการวางแผนพัฒนาผังเมืองไม่ได้เพียงช่วยทำให้บ้านเมืองเราน่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่การวางผังเมืองยังช่วยให้เกิดสุขภาวะ ทั้งกายและใจ ที่ดีขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำ คือ เราจะทำยังไงให้เรามีพื้นที่หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความหนาแน่นสูงโดยไม่แออัดได้
เมืองหนาแน่นสูง VS เมืองแออัด
สองคำนี้ต้องแยกออกจากกัน เพราะมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน หลายท่านคงได้เห็นชุมชนแออัด ตามพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่เป็นบ้านชั้นเดียว ทางเดินแคบๆ สัญจรลำบาก ซึ่งเป็นความแออัด ที่ไม่ได้มีความหนาแน่นของประชากรสูงเมื่อเทียบกับพื้นที่เมืองที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีในต่างประเทศ อาคารที่พักอาศัยแนวสูง อาคารสำนักงาน ก็สามารถออกแบบให้มีความหนาแน่นของประชากรสูงได้ โดยไม่แออัด
ความแออัด คือ บริเวณที่ออกแบบไม่ดี ถนนกว้างไม่พอ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีประปาเข้าไปถึง การจัดสรรสาธารณูปโภคต่าง ๆไม่เพียงพอ จึงเรียกว่า ‘แออัด’ ทำให้ส่งผลไปถึงเรื่องของสุขภาวะ รวมไปถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น พื้นที่แคบรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้
ส่วน ความหนาแน่นสูง คือบริเวณที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เทคโนโลยีที่สูงกว่า ทำให้เกิด Economy of scale (การประหยัดต่อขนาด) พูดง่ายๆ ลงทุนแล้วมีคนสามารถใช้ได้เยอะ ก็คือประหยัดมากยิ่งขึ้น เช่น ลงทุนสร้างโรงพยาบาลดี ๆ ในพื้นที่เมืองหนาแน่นสูง ผู้คนสามารถเดินทางมาใช้บริการและรับการรักษาได้ง่าย ก็สามารถลดปัญหาโรคระบาดได้ เพราะจากการศึกษาของประเทศอเมริกาบอกว่าคนที่เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 70% คือ ชนกลุ่มน้อย (Minority) เนื่องจากอยู่ในที่แออัด และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสุขภาพ นั่นแปลว่าการที่ทำให้เกิดความหนาแน่นสูงจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และสามารถนำพาความสะดวกสบาย โดยเฉพาะสาธารณูปโภคไปยังประชาชนได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ถนนเพียง 7% ของพื้นที่ทั้งหมด (รวมถนนเส้นเลือดฝอยตามตรอก ซอก ซอย) ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมหานครอื่น ๆ หรือเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก ที่กล่าวถึงถนนเป็นหลัก เนื่องจาก ถนนคือตัวนำทุกอย่าง ถนนนำความช่วยเหลือเข้าไป นำสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าไป นอกจากนี้ถนนยังเป็นตัวลดความแออัดอีกด้วย ยิ่งเรามีถนนมากเท่าไหร่ ระยะห่างระหว่างอาคารก็จะยิ่งถูกแบ่งมากขึ้น ระบบท่อประปา ขนส่งมวลชนเข้าไปใกล้ตัวเราได้มากขึ้น
การวางผังเมืองที่ดีจะต้องไม่ไปขัดแย้ง และสามารถส่งเสริมการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้
- สุขอนามัยชุมชน หรือ Public Health คือการวางผังเมืองสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การกำหนดระยะห่างระหว่างอาคาร ช่วยทำให้แสงแดดส่องถึง มีการไหลเวียนระบายอากาศ รวมถึงการแยกกิจกรรมอันตรายออกจากที่อยู่อาศัย
- ความปลอดภัยสาธารณะ หรือ Public Safety เช่น กำหนดขนาดของถนนที่เพียงพอกับปริมาณจราจร ความสะดวกของรถดับเพลิงและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ดับเพลิง การเคลื่อนตัวของรถพยาบาลและผู้บาดเจ็บเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
- สวัสดิภาพทางสังคม หรือ Public Welfare เป็นความราบรื่นของการอยู่ร่วมกัน เช่น จัดให้มีสวนสาธารณะเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ การกำหนดที่โล่ง การควบคุมรูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม การรักษาภูมิประเทศที่งดงาม เพื่อทัศนียภาพของเมือง ความเป็นระเบียบจากอาคารสิ่งก่อสร้างบนการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท โครงข่ายการคมนาคมที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการวางแผนพัฒนาผังเมืองไม่ได้เพียงช่วยทำให้บ้านเมืองเราน่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่การวางผังเมืองยังช่วยให้เกิดสุขภาวะ ทั้งกายและใจ ที่ดีขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำ คือ เราจะทำยังไงให้เรามีพื้นที่หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความหนาแน่นสูงโดยไม่แออัดได้
เมืองหนาแน่นสูง VS เมืองแออัด
สองคำนี้ต้องแยกออกจากกัน เพราะมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน หลายท่านคงได้เห็นชุมชนแออัด ตามพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่เป็นบ้านชั้นเดียว ทางเดินแคบๆ สัญจรลำบาก ซึ่งเป็นความแออัด ที่ไม่ได้มีความหนาแน่นของประชากรสูงเมื่อเทียบกับพื้นที่เมืองที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีในต่างประเทศ อาคารที่พักอาศัยแนวสูง อาคารสำนักงาน ก็สามารถออกแบบให้มีความหนาแน่นของประชากรสูงได้ โดยไม่แออัด
ความแออัด คือ บริเวณที่ออกแบบไม่ดี ถนนกว้างไม่พอ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีประปาเข้าไปถึง การจัดสรรสาธารณูปโภคต่าง ๆไม่เพียงพอ จึงเรียกว่า ‘แออัด’ ทำให้ส่งผลไปถึงเรื่องของสุขภาวะ รวมไปถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น พื้นที่แคบรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าถึงได้
ส่วน ความหนาแน่นสูง คือบริเวณที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เทคโนโลยีที่สูงกว่า ทำให้เกิด Economy of scale (การประหยัดต่อขนาด) พูดง่ายๆ ลงทุนแล้วมีคนสามารถใช้ได้เยอะ ก็คือประหยัดมากยิ่งขึ้น เช่น ลงทุนสร้างโรงพยาบาลดี ๆ ในพื้นที่เมืองหนาแน่นสูง ผู้คนสามารถเดินทางมาใช้บริการและรับการรักษาได้ง่าย ก็สามารถลดปัญหาโรคระบาดได้ เพราะจากการศึกษาของประเทศอเมริกาบอกว่าคนที่เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 70% คือ ชนกลุ่มน้อย (Minority) เนื่องจากอยู่ในที่แออัด และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสุขภาพ นั่นแปลว่าการที่ทำให้เกิดความหนาแน่นสูงจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และสามารถนำพาความสะดวกสบาย โดยเฉพาะสาธารณูปโภคไปยังประชาชนได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ยิ่งมีความหนาแน่นสูงเท่าไหร่ ยิ่งเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งมีโอกาสสร้างสุขภาวะที่ดีมากขึ้น”



อยากเห็นเมืองดีขึ้น ไม่ใช่แค่บ่น ใครกันบ้างที่ต้อง เสียสละ ?
ก่อนที่จะไปบอกใครว่าเขาต้องเสียสละ อยากให้ย้อนกลับมามองที่ตนเองก่อน
คุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด ทะเบียนบ้านโยกย้ายมาตามที่อยู่จริงหรือไม่
สิ่งนี้เป็นปัญหาแรกของคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าประชากรในเมืองมีจำนวนจริง ๆเท่าไหร่ จึงทำให้การจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ไม่ถูกต้อง งบประมาณทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการป้องกันภัยต่าง ๆ ที่มาลงในทุกจังหวัด ต้องนับตามหัวประชากรนั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เกิดขึ้นจริง
อันที่จริงแล้วกรุงเทพฯ ไม่ได้มีปัญหาของความแออัด ถ้าทุกคนลงทะเบียนอย่างถูกต้อง กรุงเทพฯ สามารถรองรับคนได้มากกว่านี้ พื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตรของกรุงเทพฯ หักพื้นที่ถนน และอื่น ๆ เหลือ 1,000 ตารางกิโลเมตร ถ้าตอนนี้เรามีประชากร 10 ล้านคน มันแค่ประมาณ 8 คนต่อไร่เอง เพราะฉะนั้นความหนาแน่นต่ำมาก เมื่อเทียบกับมหานครอื่น
ผมยืนยันเสมอว่าตัวเลขประชากรของกรุงเทพฯ และเมืองต่าง ๆ ของไทย ไม่ได้มีประชากรมากกว่ามหานครต่าง ๆ ของโลก แต่เราขาดการออกแบบเมืองที่ดี ที่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้มีสุขอนามัยที่ดี
ดังนั้นเริ่มต้นง่ายๆ ทำให้เมืองมีข้อมูลที่เป็นจริง โดยการโยกย้ายสำมะโนครัวของเราไปยังเมืองที่อยู่พักอาศัยและใช้สาธารณูปโภคจริง ๆ
ก่อนที่จะไปบอกใครว่าเขาต้องเสียสละ อยากให้ย้อนกลับมามองที่ตนเองก่อน
คุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด ทะเบียนบ้านโยกย้ายมาตามที่อยู่จริงหรือไม่
สิ่งนี้เป็นปัญหาแรกของคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าประชากรในเมืองมีจำนวนจริง ๆเท่าไหร่ จึงทำให้การจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ไม่ถูกต้อง งบประมาณทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการป้องกันภัยต่าง ๆ ที่มาลงในทุกจังหวัด ต้องนับตามหัวประชากรนั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เกิดขึ้นจริง
อันที่จริงแล้วกรุงเทพฯ ไม่ได้มีปัญหาของความแออัด ถ้าทุกคนลงทะเบียนอย่างถูกต้อง กรุงเทพฯ สามารถรองรับคนได้มากกว่านี้ พื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตรของกรุงเทพฯ หักพื้นที่ถนน และอื่น ๆ เหลือ 1,000 ตารางกิโลเมตร ถ้าตอนนี้เรามีประชากร 10 ล้านคน มันแค่ประมาณ 8 คนต่อไร่เอง เพราะฉะนั้นความหนาแน่นต่ำมาก เมื่อเทียบกับมหานครอื่น
ผมยืนยันเสมอว่าตัวเลขประชากรของกรุงเทพฯ และเมืองต่าง ๆ ของไทย ไม่ได้มีประชากรมากกว่ามหานครต่าง ๆ ของโลก แต่เราขาดการออกแบบเมืองที่ดี ที่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้มีสุขอนามัยที่ดี
ดังนั้นเริ่มต้นง่ายๆ ทำให้เมืองมีข้อมูลที่เป็นจริง โดยการโยกย้ายสำมะโนครัวของเราไปยังเมืองที่อยู่พักอาศัยและใช้สาธารณูปโภคจริง ๆ

ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของโครงการ ทำตามกฎหมายผังเมืองอย่างเคร่งครัด
การทำให้ถนนที่กว้างได้มาตรฐานและมีความสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ พอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน รถดับเพลิงที่มีขนาดเหมาะสมก็สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ จะเห็นว่ากฎหมายผังเมืองกรุงเทพฯ จะบอกว่า ถ้าจะสร้างอาคารสูงเกิน 8 ชั้น หรือสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป จะต้องอยู่ติดกับถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่แคบกว่า 10 เมตร เพื่อให้รถดับเพลิงขนาดใหญ่ 2 คัน สามารถสวนกันและเข้าไปดับเพลิงได้ สิ่งนี้ก็เป็นอีก 1 ในปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดได้เสมอ
การพัฒนาพื้นที่อุปกรณ์ (Privately Owned Public Space) ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะของเอกชน ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปใช้งานได้อย่างเสรีตามกฎหมาย หากเจ้าของโครงการ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สามารถนำมาเพิ่มสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดินได้ ก็จะเป็นการเสียสละที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
พื้นที่ภาครัฐ อาทิ หน่วยราชการ กรมทหาร โรงเรียน สามารถเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการพื้นที่สีเขียว หรือ เข้าไปทำกิจกรรมได้หรือไม่
แน่นอนว่าคำตอบคือ ไม่ อย่างโรงเรียนเอง เมื่อถึงเวลาก็ปิดทำการ ไม่ยอมให้คนในชุมชนไปใช้นอกเวลาทำการ หรือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ กรมทหาร ที่พูดตรง ๆ ว่ามีพื้นที่บริเวณกว้าง ในส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้สอย ควรสร้างเป็นสวนสาธารณะ หรือ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อส่วนรวมอาจก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เป็นเรื่องจริงที่ทุกพื้นที่ต้องการความปลอดภัยแต่หากต้องแบ่งพื้นที่เพื่อส่วนรวมหรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวก็สามารถสร้างรั้วอีกชั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยให้ยังเพิ่มพื้นที่สาธารณะได้อีกมาก
บางกะเจ้า อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ถูกกำหนดว่าเป็น ‘ปอดของคนกรุงเทพมหานคร’ โดยเจ้าของที่ต้องเสียสละ?
นี่คงเป็นหลักการคิดง่ายๆ หากเรานำพื้นที่ของเราไปทำเกษตรกรรมตามผังเมืองกำหนด 10 ปี ยังมีเงินไม่ถึง 1 ใน 10 ของการขายให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน หากคุณเป็นเจ้าของที่ดิน คุณคิดอย่างไรที่จะนำพื้นที่ของคุณเป็นปอดให้คนอื่นฟรีๆ และนี่คือความไม่เป็นธรรมการในพัฒนาเมือง หากเรามีหลักการง่ายๆ ว่า ถ้าคุณเสียสละให้คนอื่นต้องไม่ฟรี นี่ถึงจะแฟร์ หากต้องการปอดของคนกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่นี้ แท้จริงควรจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชย เวนคืน อาจเรียกเก็บจากภาษี หรือ ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว
การทำให้ถนนที่กว้างได้มาตรฐานและมีความสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ พอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน รถดับเพลิงที่มีขนาดเหมาะสมก็สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ จะเห็นว่ากฎหมายผังเมืองกรุงเทพฯ จะบอกว่า ถ้าจะสร้างอาคารสูงเกิน 8 ชั้น หรือสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป จะต้องอยู่ติดกับถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่แคบกว่า 10 เมตร เพื่อให้รถดับเพลิงขนาดใหญ่ 2 คัน สามารถสวนกันและเข้าไปดับเพลิงได้ สิ่งนี้ก็เป็นอีก 1 ในปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดได้เสมอ
การพัฒนาพื้นที่อุปกรณ์ (Privately Owned Public Space) ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะของเอกชน ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปใช้งานได้อย่างเสรีตามกฎหมาย หากเจ้าของโครงการ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สามารถนำมาเพิ่มสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดินได้ ก็จะเป็นการเสียสละที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
พื้นที่ภาครัฐ อาทิ หน่วยราชการ กรมทหาร โรงเรียน สามารถเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการพื้นที่สีเขียว หรือ เข้าไปทำกิจกรรมได้หรือไม่
แน่นอนว่าคำตอบคือ ไม่ อย่างโรงเรียนเอง เมื่อถึงเวลาก็ปิดทำการ ไม่ยอมให้คนในชุมชนไปใช้นอกเวลาทำการ หรือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ กรมทหาร ที่พูดตรง ๆ ว่ามีพื้นที่บริเวณกว้าง ในส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้สอย ควรสร้างเป็นสวนสาธารณะ หรือ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อส่วนรวมอาจก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เป็นเรื่องจริงที่ทุกพื้นที่ต้องการความปลอดภัยแต่หากต้องแบ่งพื้นที่เพื่อส่วนรวมหรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวก็สามารถสร้างรั้วอีกชั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยให้ยังเพิ่มพื้นที่สาธารณะได้อีกมาก
บางกะเจ้า อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ถูกกำหนดว่าเป็น ‘ปอดของคนกรุงเทพมหานคร’ โดยเจ้าของที่ต้องเสียสละ?
นี่คงเป็นหลักการคิดง่ายๆ หากเรานำพื้นที่ของเราไปทำเกษตรกรรมตามผังเมืองกำหนด 10 ปี ยังมีเงินไม่ถึง 1 ใน 10 ของการขายให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน หากคุณเป็นเจ้าของที่ดิน คุณคิดอย่างไรที่จะนำพื้นที่ของคุณเป็นปอดให้คนอื่นฟรีๆ และนี่คือความไม่เป็นธรรมการในพัฒนาเมือง หากเรามีหลักการง่ายๆ ว่า ถ้าคุณเสียสละให้คนอื่นต้องไม่ฟรี นี่ถึงจะแฟร์ หากต้องการปอดของคนกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่นี้ แท้จริงควรจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชย เวนคืน อาจเรียกเก็บจากภาษี หรือ ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว

กรณีถนนประวัติศาสตร์ ที่มีการกำหนดลักษณะของอาคารตลอดแนว รวมไปถึงความสูงของตึก ลักษณะนี้เป็นผังเมืองเฉพาะ จึงต้องมีกลไกในการจ่ายคืน เพราะสิทธิ์ของเจ้าของที่ได้หายไป อาทิ เจ้าของที่ดินบนถนนสายวัติศาสตร์สามารถสร้างอาคารในพื้นที่ได้จริง 30 ชั้น แต่ผังเมืองเฉพาะกำหนดให้สามารถสร้างได้เพียง 5 ชั้น ทำให้เกิดกลไกในการจ่ายคืน ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าของพื้นที่สิทธิไม่เสียเปล่า
เรื่องที่ว่าเราควรเสียสละหรือไม่ ใครควรเสียสละมากกว่ากัน แล้วความเสียสละนี้ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมมากน้อยแค่ไหน เหมือนปัญหากับโลกแตกที่ใครก็ต่างว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียสละ แต่หากเราสำรวจตัวเองให้ถี่ถ้วน ทำตนเองให้ถูกต้อง ก็จะเห็นได้ว่าทุกคนต้องเสียสละกันคนละทาง และการที่ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจเป็นอย่างที่ดีให้แก่ผู้น้อย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การวางแผนพัฒนาผังเมืองมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของเมือง หรือเมืองสุขภาวะ (Healthy Cities) ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นเมืองที่ทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน สร้างสรรค์ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายโอกาสในเชิงทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้มีศักยภาพสูงสุดและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ฉะนั้นการที่ทุกภาคส่วนเสียสละกันคนเล็กคนละน้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยเริ่มจากที่ตัวเรา ด้วยการที่ทุกบ้านช่วยกันได้ เช่น สร้างสวนในบ้าน ลดการก่อฝุ่นฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสารพิษ เพียงเท่านี้จึงเป็นแนวทางที่ดีเพื่อให้เกิด Healthy Cities ที่แท้จริง
.jpg)
รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา
หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่องที่ว่าเราควรเสียสละหรือไม่ ใครควรเสียสละมากกว่ากัน แล้วความเสียสละนี้ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมมากน้อยแค่ไหน เหมือนปัญหากับโลกแตกที่ใครก็ต่างว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียสละ แต่หากเราสำรวจตัวเองให้ถี่ถ้วน ทำตนเองให้ถูกต้อง ก็จะเห็นได้ว่าทุกคนต้องเสียสละกันคนละทาง และการที่ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจเป็นอย่างที่ดีให้แก่ผู้น้อย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การวางแผนพัฒนาผังเมืองมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของเมือง หรือเมืองสุขภาวะ (Healthy Cities) ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นเมืองที่ทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน สร้างสรรค์ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายโอกาสในเชิงทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้มีศักยภาพสูงสุดและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ฉะนั้นการที่ทุกภาคส่วนเสียสละกันคนเล็กคนละน้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยเริ่มจากที่ตัวเรา ด้วยการที่ทุกบ้านช่วยกันได้ เช่น สร้างสวนในบ้าน ลดการก่อฝุ่นฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสารพิษ เพียงเท่านี้จึงเป็นแนวทางที่ดีเพื่อให้เกิด Healthy Cities ที่แท้จริง
.jpg)
รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา
หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย